คุณภาพน้ำ & แท็งค์

การติดตั้งแท้งค์น้ำเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณารายละเอียด หลายอย่าง เพื่อให้ใช้งานได้นาน ไม่มีปัญหาจุกจิก
เมื่อต้องซื้อแท้งค์เก็บน้ำ  หลายๆคน อาจมีคำถามว่า จะเลือกที่ตั้งแท้งค์อย่างไรให้สะดวก เหมาะสมกับการใช้งาน?
ต้องลงเข็มพื้นที่ตั้งหรือเปล่า? บางคนคิดว่าตั้งตรงไหนก็ได้ ไม่เป็นไร  ที่จริงบ้านเราจะตั้งตรงไหนก็ได้ แต่ว่า...
ความสะดวกในการทำงาน ความประหยัดค่าใช้จ่ายด้าน อุปกรณ์ และค่าแรงในการติดตั้ง จะแตกต่างกัน
ซึ่งต้องพิจารณา ในหลายๆด้านดังนี้

1. การเลือกตำแหน่งที่ตั้งแท้งค์
ติดตั้งแท้งค์น้ำ

1.1
บ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ ที่ไม่ได้เดินท่อสำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้าน จำเป็นต้องตั้งแท้งค์ที่หน้าบ้าน ซึ่งควรตั้งฝั่งเดียวกับมิเตอร์น้ำหน้าบ้าน เพราะจะเดินท่อจากมิเตอร์น้ำเข้าแท้งค์ได้สะดวกไม่เกะกะ
1.2 ทาวน์เฮ้าส์ที่เดินท่อสำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้านไว้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการขนย้ายแท้งค์เข้าติดตั้งได้หรือไม่ ซึ่งต้องยกข้ามกำแพงด้านหลังบ้าน หากไม่สามารถเข้าได้ ต้องเลือกใช้แท้งค์ขนาดเล็ก ซึ่งยกเข้าทางประตูบ้าน โดยทั่วไปแท้งค์ขนาด 70 ซม. จะเข้าประตูได้ บางบ้านอาจจะใหญ่กว่านี้ขึ้นกับขนาดประตู
1.3 กรณีทาวน์เฮ้าส์หลังริม, บ้านแฝด, บ้านเดี่ยว ที่สามารถเดินท่อน้ำจากมิเตอร์ไปยังด้านหลังได้ ควรตั้งแท้งค์ไว้หลังบ้าน ฝั่งเดียวกับมิเตอร์ แท้งค์จะได้ไม่เกะกะหน้าบ้านและไม่ต้องเดินท่อไกล
1.4 กรณีบ้านที่ท่อน้ำเข้าบ้านอยู่ใต้พื้นคอนกรีตหน้าบ้าน อาจจะตั้งแท้งค์บริเวณหน้าบ้าน(หากไม่เกะกะเกินไป) จะทำให้ไม่ต้องเดินท่อไกล ถ้าตั้งแท้งค์หลังบ้านต้องเดินท่อไปเข้าแท้งค์และเดินท่อกลับมาหน้าบ้าน ซึ่งจะสิ้นเปลืองค่าท่อและไม่สวยงาม
1.5 จุดตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำ ระยะห่างไม่เกิน 2 เมตร และปั๊มควรอยู่ในบริเวณที่กันแดด กันฝน ถ้าตั้งปั๊มไกลจะทำให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองท่อ และไม่สวยงาม
1.6 ควรตั้งแท้งค์น้ำห่างจากกำแพงรั้วหรือผนังบ้าน อย่างน้อย 5 เซนติเมตร
1.7 หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์ใต้หลังคาที่มีน้ำหยดลงแท้งค์
1.8 หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์บนพื้นที่ลาดเอียง
1.9 บริเวณที่ตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ด้านบนเหนือแท้งค์น้ำ เพียงพอต่อการเปิดฝา ติดตั้งอุปกรณ์และการดูแลรักษา
1.10 ควรตั้งแท้งค์บนพื้นคอนกรีต (พื้นทั่วไปหนา 10 เซนติเมตร ไม่ควรวางแท้งค์น้ำขนาดเกิน 2,000 ลิตร)
2. การเตรียมพื้นสำหรับวางแท้งค์ กรณีที่ต้องเทพื้นคอนกรีตใหม่
แท้งค์น้ำ
2.1 ขนาดพื้นควรกว้างกว่าขนาดถัง อย่างน้อย 10 เซนติเมตร ถ้าต้องการตั้งปั๊มน้ำบริเวณแท้งค์ ให้เผื่อที่ตั้งปั๊มน้ำด้วย หากมีพื้นที่เพียงพอควรเผื่อความกว้างพื้นสำหรับตั้งบันได หรือเก้าอี้ สำหรับดูแลรักษา
2.2 ไม่ต้องลงเข็มรองรับพื้นที่จะเท
2.3 ปรับพื้นที่จะเทคอนกรีต ให้เสมอได้ระดับด้วยทรายหยาบ อย่าให้พื้นที่ปรับสูงกว่าพื้นเดิมมากนัก
2.4 แท้งค์ขนาดไม่เกิน 2,000 ลิตร ผูกเหล็กขนาด 8 มิลลิเมตร เป็นตาราง 20 เซนติเมตร หรือ ผูกเหล็กขนาด 10 มิลลิเมตร ผูกเป็นตาราง 25 เซนติเมตร เทพื้นคอนกรีตหนา 10 เซนติเมตร โดยให้หนุนเหล็กวางสูงจากพื้น 3 เซนติเมตร ปรับพื้นผิวคอนกรีตให้เรียบเสมอกันไม่เป็นแอ่ง
2.5 ไม่ควรเทพื้นคอนกรีต ทับบนคาน หรือพื้นอื่น
2.6 ถ้าเทพื้นคอนกรีตติดกับพื้น หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ควรวางแผ่นโฟมกั้นระหว่าพื้นที่เทใหม่กับสิ่งก่อสร้างอื่น เพื่อให้มีการทรุดตัวแยกอิสระจากกัน
2.7 หลังเทพื้นแล้วควรบ่มคอนกรีตโดยใช้ถุงปูน , กระสอบ หรือผ้าพลาสติดคลุม และพรมน้ำให้เปียก ไม่ให้คอนกรีตแห้งเร็วเกินไป
2.8 พื้นคอนกรีตจะสามารถรับน้ำหนักได้เต็มที่หลังจากเทพื้น 28 วัน กรณีที่รีบติดตั้ง อายุคอนกรีต 7 วันจะแข็งแรงประมาณ 90 % พอจะตั้งแท้งค์น้ำได้
3. การตั้งแท้งค์เก็บน้ำ
3.1 หันแท้งค์ให้สามารถเดินท่อได้สะดวก โดยพิจารณาท่อน้ำเข้าแท้งค์ และท่อออกจากแท้งค์ไปยังปั๊ม ไม่ให้เกะกะ
3.2 ควรติดตั้งลูกลอยตัดน้ำให้สามารถเก็บน้ำในแท้งค์ได้สูงสุด
3.3 ควรต่อท่อเข้าแท้งค์ในจุดเตรียมไว้ และใช้ข้อต่อที่ติดตั้งมากับแท้งค์
3.4 ควรต่อท่อระบายตะกอนที่ก้นแท้งค์ เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
3.5 อุปกรณ์ที่ต่อกับแท้งค์น้ำ ควรใช้อุปกรณ์ พีวีซี,ทองเหลือง หรือสแตนเลสเท่านั้น ป้องกันการผุกร่อน เป็นสนิม
Visitors: 279,707